วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันจันทร์ที่  1  กุมภาพันธ์  2559
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์  2559

วันจันทร์ (ทฤษฎี)
           
               วันนี้เป็นการนำเสนองานกลุ่มที่มีเนื้อหา ทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและจังหวะโดยแบ่งออกเป็นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

ด้านร่างกาย
  • ทฤษฎีของอาร์โนลด์ กีเซลล์

กีเซลล์  ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
-   พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  
            เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด -  พฤติกรรมด้านการปรับตัว
           เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ-  พฤติกรรมทางด้านภาษา 
           จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและการใช้ภาษา การสื่อสาร-  พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม 
           เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักกระบวนการคิด ประกอบด้วย 4 ลักษณะ คือ

1.แรงจูงใจ (Motivation)              2.โครงสร้าง (Structure)
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence)         4.การเสริมแรง (Reinforcement)

บรูเนอร์แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) 
2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) 
3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) 

ด้านสติปัญญา
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์จะเน้นกฎแห่งการเรียนรู้ 3 ประการ
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งผล  (Law of Effects) 

  • ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
                   เพียเจต์ถือว่า  การให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆจะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการรับรู้เป็นสื่อในการกระตุ้นทางความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ ทฤษฎีนี้เป็นประโยชน์ในการจัดเนื้อหากิจกรรมทางการเคลื่อนไหว โดยให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็กซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งใหม่

ด้านอารมณ์
  • ทฤษฎีสร้างสรรค์กิลฟอร์ด
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ คือ
1. ความคิดริเริ่ม (Originality)
2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
  3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) 
  4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration)

  • ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของธอร์แรนซ์
ขั้นตอนของความคดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
1. ขั้นเริ่มคิด คือ ขั้นพยายามรวบรวมข้อเท็จจริง 2. ขั้นครุ่นคิด คือ ขั้นที่ผู้คิดต้องใช้ความคิดอย่าง3. ขั้นเกิดความคิด คือ ขั้นที่ความคิดจะเห็นความสัมพันธ์ของความคิดใหม่ที่ซ้ำกับความคิดเก่าๆ4. ขั้นปรับปรุง คือ ขั้นการขัดเกลาความคิดนั้นให้หมดจดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย


ด้านสังคม
  • ทฤษฎีอิริคสัน
อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น 
โดยยกตัวอย่างขั้นที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ - ความไม่ไว้วางใจ  :  เกิดขึ้นในวัยทารก
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ - ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง  :  อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม - การรู้สึกผิด  :  วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี
  • ทฤษฎีของอัลเบริต์  แบนดูรา
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ 

1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process) 
2. กระบวนการคงไว้ (Retention Process) 
3.กระบวนการแสดงออก (motor reproduction process)
4. กระบวนการจูงใจ (Motivational Process) 


วันพฤหัสบดี  (ปฏิบัติ)

             วันนี้มีการดูวิดิโอเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรก่อนเริ่มการเรียน หลังจากนั้นก็นั่งเป็นวงกลมและเริ่มการบริหารสมองเมื่อบริหารสมองเสร็จก็เริ่มทำกิจกรรมโดยวันนี้เริ่มจากการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ทีละหนึ่งคนให้คิดท่าของตนเองไว้แล้วออกมานำเพื่อนเวียนไปจนครบ




              กิจกรรมต่อมาคือให้จับกลุ่มแล้วคิดท่ามากลุ่มละ 10 ท่า เรียงจากท่าที่ง่ายไปหาท่าที่ยาก โดยเวียนให้สมาชิกในกลุ่มออกมานำทีละคนและคนในกลุ่มต้องออกมาด้วย  หลังจากนั้นก็มีการทดสอบการสอนโดยให้เพื่อนในห้องเป็นเด็กให้เราสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว  โดยต้องยิ้มแย้ม สบตาเด็ก ควบคุมสมาธิ และต้องกล้าที่จะแสดงออก


นี่คือเด็กๆของเราา า า า า


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • นำทฤษฎีด้านต่างๆไปเป็นแนวทางและปรับใช้กับการสอนของเรา
  • การสอนการเคลื่อนไหวควรเริ่มจากท่าที่ง่ายไปหาท่าที่ยาก เด็กจะได้รู้สึกว่าตนเองทำได้
  • การสอนการเคลื่อนไหวเด็กเราต้องสบตา และดูว่าเด็กมีการเรียนรู้ไปถึงขั้นไหน เช่น การรู้ทิศทางของเด็ก  การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ยังไม่ค่อยมั่นใจในตัวเองเท่าไหร่ และชอบแสดงออกทางสีหน้าอย่างชัดเจน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความตั้งใจและมีการวางแผนการทำงานร่วมกันในกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และเตรียมขั้นตอนการสอนไว้ก่อนหน้า  เวลาเด็กเบื่อๆก็มีมุกตลกให้ขำ?  และมีกิจกรรมให้เล่นแก้เบื่อด้วยชอบค่ะ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น