วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่  25  มกราคม  2559


วันจันทร์  (ทฤษฎี)
             
             เนื้อหาการเรียนของวันนี้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วซึ่งก่อนเริ่มการเรียนก็มีการทวนความรู้เดิม
  • ประเภทของการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  เช่น  วรศักดิ์  เพียรชอบ  แบ่งออกได้ 3ประเภท
1. การเคลื่อนไหวแบบยืนอยู่กับที่
2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่จากที่เดิม
3. การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์หรือวัตถุ
  • การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
  • บริเวณและเนื้อที่
  • ระดับการเคลื่อนไหว  แบ่งได้ 3 ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ
  • ทิศทางของการเคลื่อนไหว
  • การฝึกจังหวะ
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
  • วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
  • การเตรียมร่างกายและการประเมิน


เรียนรู้การทำงานของสมอง





                  คนเรามีความถนัดที่แตกต่างกันซึ่งเกิดจากการพัฒนาของสมองทั้งสองซีก อาจารย์จึงเปิดวิดิโอการบริหารสมองให้ดูและให้ทุกคนได้ฝึกเพื่อบริหารสมองทั้งสองซีกของตนเอง จะได้มีสมาธิและช่วยพัฒนาสมองทั้งสองซีก
 ตัวอย่างการบริหารสมองสองเท่า

ภาพจาก http://www.tbp.co.th/news/new_trick/news_trick141.html

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • ก่อนจะจัดการเรียนการสอนเราต้องสอนให้เด็กได้เรียนรู้ส่วนประกอบต่างๆของร่างกาย เช่น  ตรงนี้คือแขน  ตรงนี้คือขา
  • ให้เด็กได้เรียนรู้ทิศทางของการเคลื่อนไหว ทางไหนซ้ายขวา ไปข้างหน้า ข้างหลัง
  • การบริหารสมองมีประโยชน์ต่อการใช้สมาธิและกระตุ้นการรับรู้ การเรียนรู้ที่ดีขึ้น
การประเมินผล

ประเมินตนเอง : เข้าใจเนื้อหาพื้นฐานของการจัดกิจกรรมว่าเราควรเริ่มจากตรงไหนก่อนและรู้ว่าตนเองมีพัฒนาการสมองด้านไหนมากกว่ากันด้วย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความสนใจกับเนื้อหาการเรียนและการบริหารสมอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและปล่อยตรงเวลาเหมือนเช่นทุกครั้งเลยค่ะ > <

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น